วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการเขียน " หลักการและเหตุผล " เพื่อเสนอโครงการ

หลักคิดสำคัญในการเขียนโครงการ ก็คือ "หลักความพอเพียง" นั่นเอง "หลักการและเหตุผล" จะแสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนโครงการยึดห่วง "หลักวิชา" และ "เหตุผล" หรือไม่ในการ "วางแผน" (คิดก่อนทำ) อย่างรอบคอบต่อไป

ผมสอนน้องๆ ที่ทำงานด้วยกันว่า ในการเขียนโครงการเราต้องให้ความสำคัญกับ "หลักการและเหตุผล" ควรเขียนใหม่ ด้วยตนเองทุกๆ ครั้ง หลังจากที่รับหลักการหรือแนวทางจาก "ทีม" "ที่ประชุม" แม้ว่าจะเป็นงานประจำที่ทำซ้ำๆ กันทุกปี

หลักการและเหตุผลจะแสดงและสะท้อน "กระบวนทัศน์" หรือวิธีคิด และกระบวนการหรือวิธีทำงานอย่างชัดเจน หน่วยงานใดที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) "หลักการและเหตุผล" จะแฝงเรื่องราวของการเรียนรู้สู่เจตนารมณ์ของโครงการถึงระดับ "คุณค่า" และมี "ความหมาย" สอดคล้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร

ต่อไปนี้เป็นเทคนิคในการเขียน "หลักการและเหตุผล" เพื่อเสนอโครงการ ที่ผมทำจนกล้านำมาบอกต่อครับ ...
  • พิจารณาว่าโครงการนั้น มีเป้าประสงค์หลักไปในแนวใด ระหว่าง 
    • โครงการตามนโยบายเบื้องบน ตาม KPI ร่วมกันกับมหาวิทยาลัย ไม่ได้เป็นเป้าประสงค์ตามวิสัยทัศน์ของเราโดยตรง 
    • โครงการที่เป็นเป็าประสงค์หรือ KPI ของหน่วยงานเรา และ
    • โครงการเพื่อแก้ปัญหา เป็นโครงการประเภทพัฒนาหรือวิจัยนั่นเองครับ 
  • วิธีเขียนให้แบ่งเป็น 3 ย่อหน้า ตอบ 3 คำถาม คือ ทำไมต้องทำ จะทำอย่างไรคร่าวๆ และทำแล้วจะได้อะไรหรือผลที่คาดว่าจะได้รับหรือสรุปย่อของวัตถุประสงค์
  • วิธีเขียนย่อหน้าแรกนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของโครงการ ดังนี้ 
    • โครงการตามนโยบาย ให้เขียนเกี่ยวกับนโยบาย 
    • โครงการที่เป็นเป้าของเราโดยตรง ให้เขียนถึง เจตนารมณ์ของ KPI ข้อนั้นๆ 
    • โครงการพัฒนาหรือวิจัย ให้เขียนถึงปัญหา 
 ท่านผู้อ่านล่ะครับ ท่านใช้วิธีใด....