ดังรูปครับ
แกนนอนของกราฟแทนเวลา เป็น "เส้นเวลา" นั่นคือ Timeline นั่นเองครับ อ่านวิธีการทำ Timeline ที่นี่ครับ จากการเขียน timeline เราจะได้ "ถอดประสบการณ์" ดำเนินการขับเคลื่อนมาอย่างไรบ้างแล้ว
การเขียนกราฟความสำเร็จ ก็คือ การประเมินความสำเร็จด้านต่างๆ ตามมิติของเวลา โดยวิเคราะห์ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับแต่ละองค์ประกอบหรือปัจจัยของการขับเคลื่อน ในกรณีของการขับเคลื่อน ปศพพ. อาจพิจารณาตามเกณฑ์ก้าวหน้า โดยแบ่งพิจารณาเป็น 3 ด้าน
- ด้านบุคลากร เช่น ผู้อำนวยการ ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา
- ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ/ฐานการเรียนรู้
- ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกับหน่วยงานภายนอก
- กำหนดให้ "แกนตั้ง" แทนระดับของความสำเร็จด้านต่างๆ เช่น ผลลัพธ์/ความรู้/ทักษะ/ศักยภาพ หรือเป็นระดับของปัญหาอุปสรรค์
- เขียนกราฟความสำเร็จฯ โดยพิจารณาให้ตรงกับเวลาที่เกิดขึ้นจริง โดยทำลักษณะของเส้นให้แตกต่างๆ ในกรณีที่ต้องการวิเคราะห์หลายปัจจัย
- เมื่อความรู้ความเข้าใจของผอ. เพิ่มขึ้น กราฟของครูก็เพิ่มขึ้น แสดงว่า ผอ. สามารถกับมาถ่ายทอดทำความเข้าใจให้กับครูได้ ในทำนองเดียวกัน นักเรียนก็เกิดความรู้ความเข้าใจ หลังจากที่ครูรู้และเข้าใจ ฯลฯ
ตัวอย่างกราฟของความสำเร็จ
การวิเคราะห์กราฟความสำเร็จจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเปิดใจตนเอง พิจารณาใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วน ตามองค์ประกอบหรือปัจจัยที่เลือกมา ประโยชน์ของ "กราฟความสำเร็จ" ที่น่าสนใจ ได้แก่
- ได้ "มองตนเอง" อย่างถี่ถ้วน
- เมื่อพิจารณาร่วมกับ timeline จะรู้ชัดว่า ความสำเร็จนั้นๆ เป็นไปได้เพราะกิจกรรม/โครงการ หรือการดำเนินการใด
- หากพิจารณา "เส้นปัญหา" ร่วมกับ "เส้นองค์ประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ " จะพบว่า ปัญหาลดลงเพราะองค์ประกอบหรือปัจจัยใด
- ฯลฯ
เชิญทดลองทำดูครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น