ความจริงแค่ท่านพิจารณารูป ก็เข้าใจแล้ว คำอธิบายต่อไปนี้อาจทำให้เข้าใจยากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากท่านรูปไม่เข้าใจ อาจลองอ่านดูได้ครับ
- ขีดเส้นตามขวางหนึ่งเส้นเรียก "เส้นปัจจุบัน" แทนเวลา "ปัจจุบัน" หน้าเส้นนี้คือ "อดีต" ล่างเส้นนี้ลงไปคือ "อนาคต"
- ขีดเส้นตรงแนวดิ่งจากบนลงล่างกลางหน้ากระดาษ วางปลายเส้นเป็นหัวลูกศร จรดตรง "เส้นปัจจุบัน" พอดี เรียกว่า "เส้นอดีต" จาก"เส้นปัจจุบัน" ไปสู่อนาคตด้วยเส้นที่ลักษณะแตกต่างไป เช่น เส้นประ ดังรูป เรียก "เส้นอนาคต" เส้นดิ่งนี้อาจเรียกว่า "เส้นเวลา"
- บริเวณด้านซ้ายมือของเส้นแนวดิ่ง เป็นพื้นที่ของ กิจกรรม/โครงการ/ผลลัพธ์ ที่โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ
- โดยใช้ลูกศรพุ่งไปหา "เส้นเวลา" และเติมรายละเอียดของเวลาที่เหมาะสมไว้บนเส้นนั้น เช่น บอกเดือนและปี เป็นต้น
- ใช้ลูกศรพุ่งออกจาก "เส้นเวลา" เพื่อแสดงผลผลิต/ผลลัพธ์/ความสำเร็จ ที่เกิดขึ้น
- พื้นบริเวณขวามือของ "เส้นเวลา" นี้ ใช้สำหรับการ "เติม" จากภายนอก หรือการ "ให้" สู่ภายนอก
- ใช้ลูกศรพุ่งเข้าหา "เส้นเวลา" แสดง กิจกรรม/โครงการ ที่ทางโรงเรียนได้เรียนรู้หรือได้รับความช่วยเหลือจากภายนอก
- ใช้ลูกศรพุ่งออกจาก "เส้นเวลา" ไปทางขวามือ สำหรับกิจกรรม/โครงการ ที่ทางโรงเรียนได้ช่วยเหลือ แบ่งปัน ขยายผลไปสู่ชุมชน หรือโรงเรียนอื่นๆ
- เขียนกิจกรรม/หรือโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการวางแผนการดำเนินการไว้ บริเวณ "เส้นอนาคต"
- ใช้เครื่องหมาย + วางไว้บนเส้น แสดงจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หรือมีพัฒนาการที่ดีขึ้นณะเวลานั้นๆ เพื่อนำไปเขียนเล่าเรื่องต่อไป
- ใช้เครื่องหมายกากบาท x ลงบน "เส้นเวลา" เพื่อสื่อสารถึงจุดที่เกิดปัญหาสำคัญขึ้น อาจเขียนปัญหาไว้ในส่วนอื่นๆ ต่อไป
โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม
Timeline ของโรงเรียนเชียงยืน ควรจะเติมคำสำคัญของการ "เติม" จากภายนอกด้วยจะดีมากครับ
ท่านลองเอาไปใช้ดูครับ เราจะได้เรียนรู้จากตนเองมากทีเดียว......
Timeline ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ครับ
- ผู้ดูๆ แล้ว รู้ว่าชัดว่า โรงเรียนทำอะไร เมื่อไหร่ ไปแล้วบ้าง
- ผู้ดูๆ แล้ว รู้ว่าชัดว่า มีผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่สำคัญอะไรเกิดขึ้นเมื่อไหร่
- ผู้ดูๆ แล้ว รู้ชัดว่า โรงเรียนมีโครงการที่ "เติม" จากภายนอกเช่น ฝึกอบรม ดูงาน ฯลฯ เรื่ออะไร เมื่อไหร่ จากใคร ส่งใครไปร่วม ได้อะไรมา ฯลฯ
- ผู้ดูๆ แล้ว รู้ได้จากการวิเคราะห์ว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น น่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมใดๆ ก่อนหน้านั้น
- ผู้ดูๆ แล้ว รู้ได้จากการสังเคราะห์ว่า ขั้นตอนในการดำเนินการของโรงเรียนเป็นอย่างไร
- ผู้ ดูๆ แล้ว รู้ได้จากการประเมินค่า ว่าสิ่งที่โรงเรียนดำเนินการนั้น ถูกทางหรือไม่ เหมาะสมที่จะศึกษาในรายละเอียดเพื่อนำไปปรับใช้หรือไม่
- ผู้ดูๆ แล้ว รู้ชัดว่า โรงเรียนมีแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการต่อไปอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น