หลักการหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้และตกผลึกในใจจากบทบาท "คุณอำนวยเชิงรุก" ในการพูดคุยเสวนาใน "วงการศึกษา" หรือ "วงพัฒนาชุมชน" ต่างๆ คือ การคุย ๓ ระดับ ที่ปรับมาจากหลักการพัฒนา "เข้าใจ เข้าถึง แล้วจึงพัฒนา" ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ....
ในการจะพัฒนาชาวบ้าน ชุมชน หรือการพัฒนาคนนั้น ในหลวงสอนว่า ต้องช่วยให้มีอยู่ มีกิน พออยู่ พอกินก่อน จากนั้นค่อยมองไปยังชุมชน และระดับสังคม ประเทศชาติต่อไป .... ผมปรับใช้หลักนี้ในการ "ฟัง" และ "นำคุย" โดยแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่
๑) ระดับตนเอง หมายถึง พูดถึงตัวเอง ครอบครัวตนเอง กิจการงาน หรือสิ่งใดๆ ก็แล้วแต่ที่ปลายทางเป็นผลประโยชน์จของตนเอง
๒) ระดับชุมชน หมายถึง พูดถึงการช่วยเหลือ เกื้อกูล แบ่งปัน ไปยังคนที่พวกเขารู้จักคุ้นเคย เป็นการให้ในระดับชุมชนคนใกล้ชิด เพื่อนพ้องน้องพี่ เพื่อประโยชน์ของชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่
๓) ระดับสังคม หมายถึง พูดถึงผลประโยชน์ของสังคม หรือประเทศชาติ ซึ่งจะกว้างขวางแตกต่างกันไป แล้วแต่เราจะวนิจฉัยเป็นกี่ระดับย่อยๆ ต่อไป
ผมยึดหลักนี้ในการ "ฟัง" และ "ซักถาม" โดยไม่เข้าไปแทรกแซง "นำคุย" โดยไม่จำเป็น ขณะที่ฟัง ผมจะพิจาณาว่า เขากำพูดในระดับใด โดยปกติคนทั่วไปจะพูดอยู่ในระดับที่ ๑) แต่เมื่อมีใครใน "วง" พูดถึงประโยคหรือคำใด อยู่ในระดับ ๒) ผมจะ "หยิบ" เอาคำนั้นมาเป็นประเด็นเพื่อพา "วง" ก้าวขึ้นมาระดับสูงขึ้นทันที.... อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์บอกผมว่า โดยมากคนมักคุยอยู่ระดับ ๑) หรือแม้จะดูเหมือนคุยในหัวเรื่องในระดับ ๒) หรือ ๓) แต่เบื้องหลังแห่งการคุยก็ยังมาจากผลประโยชน์ของตนเองอยู่ดี
... การคุยสามระดับนี้ สำคัญคือ จะต้อง "ฟัง" อย่างไม่มีอคติจริงๆ และจะต้องพร้อมที่จะให้การพูดคุยของ "วง" กระโดดข้ามไปมาระหว่างระดับเหล่านี้ได้ การสังเกตการสั่งสมของพลังในแต่ละระดับ คือปัจจัยสำคัญสำหรับกระบวนกรในการ "ยกระดับ" ของ "วง" ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น